ผู้ประกอบการ e-Commerce ที่ขายสินค้าหรือบริการผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ มีสิทธิและหน้าที่ในการเสียภาษีเช่นเดียวกับผู้ประกอบการอื่น ๆ ผู้ประกอบการที่อยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย มีรายได้จากการขายสินค้า หรือ ให้บริการแก่ผู้ซื้อที่อยู่ ณ ที่ใด ๆ ก็ตาม มีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ประกอบการค้าขายที่มีหน้าร้านทั่วไป ต้องนำรายได้นั้นมารวมคำนวณยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ และมีหน้าที่จดทะเบียนเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามเงื่อนไขของกฎหมาย
ได้แก่ บุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล ต้องนำเงินได้จาก e-Commerce ไปรวมคำนวณกับเงินได้จากแหล่งอื่นถ้ามี เช่น เงินเดือนดอกเบี้ย โดยยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.94 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายนของปี และยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ภายในเดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคมของปีถัดไป
บุคคลธรรมดา
จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามการคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ และเงินได้พึงประเมิน ตามวิธีการดังต่อไปนี้
- วิธีคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ (รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน)
- 1) รายได้ : ถือเป็นเงินได้จากการขายสินค้าและบริการ (เงินได้ประเภทที่ 8)
- 2) ค่าใช้จ่าย : สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ในอัตราเหมาและหักตามค่าใช้จ่ายจริง โดยขึ้นอยู่กับอัตราค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนดของธุรกิจแต่ละประเภท
- 3) ค่าลดหย่อน : สามารถใช้สิทธิหักค่าลดหย่อนตามกฎหมายได้ เช่น บุตร ประกันชีวิต LTF RMF ฯลฯ
- 4) คำนวณภาษี : ด้วยอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบก้าวหน้า
- วิธีคำนวณภาษีจากเงินได้พึงประเมิน
- ในกรณีเราที่มีเงินได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินเดือนจำนวนมากกว่า 60,000 บาท ให้นำยอดเงินได้คูณด้วย 0.005 และถ้าภาษีที่คำนวณได้ตามวีธีนี้ มีจำนวนไม่เกิน 5,000 บาท ได้รับยกเว้นภาษี แต่ถ้าคำนวณได้ภาษีเกินกว่า 5,000 บาท ให้เปรียบเทียบต่อครับว่า ภาษีที่คำนวณได้จากทั้งสองวิธีนั้น วิธีไหนได้จำนวนภาษีสูงกว่า ให้เลือกเสียตามวิธีนั้น
กรณีเงินได้ทุกประเภทไม่รวมเงินได้ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร
มีจำนวนรวมตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป ให้นำยอดเงินได้ คูณด้วย 0.005
คำนวณภาษีจาก 2 วิธี แล้วให้ชำระจากยอดที่มากกว่า
* เว้นแต่คำนวณภาษวีธีที่ 2 แล้วมีภาษีไม่เกิน 5,000 บาท ให้ชำระตามวิธีที่ 1
คำนวณภาษีจาก 2 วิธี แล้วให้ชำระจากยอดที่มากกว่า
* เว้นแต่คำนวณภาษวีธีที่ 2 แล้วมีภาษีไม่เกิน 5,000 บาท ให้ชำระตามวิธีที่ 1
ผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือนิติบุคคลต่างประเทศเข้ามาทำกิจการในประเทศเสียภาษีจากำไรสุทธิ ตามเงื่อนไข ที่ระบุในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรีแห่งประมวลรัษฎากร หากกิจการขาดทุนสุทธิไม่ต้องเสียภาษี โดยยื่นแบบแสดงรายการ
1. แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี (ภ.ง.ด.51) ภายใน 2 เดือน
นับจากวันสุดท้ายของทุก 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี
2. แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ (ภ.ง.ด.50) ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
1. แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี (ภ.ง.ด.51) ภายใน 2 เดือน
นับจากวันสุดท้ายของทุก 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี
2. แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ (ภ.ง.ด.50) ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
1) กิจการ SMEs มีทุนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท รายได้จากการขายหรือให้บริการไม่เกิน 30 ล้านบาท ไม่ได้จดแจ้งการจัดทำบัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ
2) กิจการ SMEs มีทุนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท รายได้จากการขายหรือให้บริการไม่เกิน 30 ล้านบาท ได้จดแจ้งการจัดทำบัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ
รายละเอียดตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 595) พ.ศ. 2558 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 1 มกราคม 2560 - 31 ธันวาคม 2560 เสียภาษีจากกำไรสุทธิ
3) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กรณีทั่วไป ที่ไม่ใช่กิจการ SMEs
รายละเอียดตาม พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 42 เสียภาษีจากกำไรสุทธิ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 1 มกราคม 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพในประเทศไทย หรือผู้นำเข้าสินค้า โดยผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่มีรายรับเกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าผู้ประกอบการจะมีรายรับหรือไม่ก็ตาม
ขอบคุณข้อมูลจาก กรมสรรพากร