ผู้ประกอบการธุรกิจร้านคาออนไลน์ ควรทำความเข้าใจกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนของกฎระเบียบ การดูแลความปลอดภัยต่อข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภค และการเตรียมพร้อมรับมือการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ หรือป้องการการไปนำข้อมูลเนื้อหาที่อยู่ในความครอบครองของผู้อื่นมาใช้แสวงหาประโยชน์
1) กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544
กฎหมายฉบับนี้ สาระสำคัญจะรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เหมือนกับการทำหลักฐานเป็นกระดาษหรือหนังสือรับรองการส่งและรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึง ใช้เป็นพยานหลักฐาน
กฎหมายฉบับนี้ สาระสำคัญจะรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เหมือนกับการทำหลักฐานเป็นกระดาษหรือหนังสือรับรองการส่งและรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึง ใช้เป็นพยานหลักฐาน
2) กฎหมายว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
ระบุการกระทำผ่านหรือโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ในการกระทำความผิด ซึ่งมีวัตถุประสงค์มุ่งต่อระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลของคอมพิวเตอร์ หรือบุคคล เพื่อให้เกิดความเสียหาย
ระบุการกระทำผ่านหรือโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ในการกระทำความผิด ซึ่งมีวัตถุประสงค์มุ่งต่อระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลของคอมพิวเตอร์ หรือบุคคล เพื่อให้เกิดความเสียหาย
กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจขายสินค้าทางออนไลน์ที่เข้าข่ายการ “ตลาดแบบตรง” ต้องจดทะเบียนการประกอบธุรกิจกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคก่อนทำการค้า
4) กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
“การโฆษณา” จะต้องไม่ใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม ไม่ว่าข้อความที่เกี่ยวกับแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ หรือลักษณะสินค้าหรือบริการ ตลอดจนการส่งมอบ จัดหา หรือใช้สินค้าหรือบริการ
“การโฆษณา” จะต้องไม่ใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม ไม่ว่าข้อความที่เกี่ยวกับแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ หรือลักษณะสินค้าหรือบริการ ตลอดจนการส่งมอบ จัดหา หรือใช้สินค้าหรือบริการ
5) กฎหมายทะเบียนพาณิชย์
กระทรวงพาณิชย์ กำหนดให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจการซื้อขายสินค้าหรือบริการออนไลน์ การให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web Hosting) และการบริการเป็นตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Marketplace) ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
กระทรวงพาณิชย์ กำหนดให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจการซื้อขายสินค้าหรือบริการออนไลน์ การให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web Hosting) และการบริการเป็นตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Marketplace) ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
6) กฎหมายลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
กำหนดสิทธิ์ประโยชน์ให้แก่เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา และป้องกันถูกผู้อื่นละเมิดลิขสิทธิ์ ทั้งขาย เสนอขาย เผยแพร่ แจกจ่าย แสวงหากำไร อันสร้างความเสียหายให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์
กำหนดสิทธิ์ประโยชน์ให้แก่เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา และป้องกันถูกผู้อื่นละเมิดลิขสิทธิ์ ทั้งขาย เสนอขาย เผยแพร่ แจกจ่าย แสวงหากำไร อันสร้างความเสียหายให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์
7) กฎหมายว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542
ดูแลราคาสินค้าต่างๆ ให้อยู่ในระดับราคาเหมาะสม เพื่อให้เกิดการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม ไม่มีการฮั้วราคา รายใหญ่รังแกรายเล็ก และกำหนดราคาตามอำเภอใจ
ดูแลราคาสินค้าต่างๆ ให้อยู่ในระดับราคาเหมาะสม เพื่อให้เกิดการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม ไม่มีการฮั้วราคา รายใหญ่รังแกรายเล็ก และกำหนดราคาตามอำเภอใจ
8) กฎหมายจดแจ้งการพิมพ์
ตาม พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 กำหนดให้ผู้ประกอบการสื่อสิ่งพิมพ์ต้องจดแจ้งการพิมพ์ ซึ่งหมายรวมถึง ผู้ประกอบธุรกิจหนังสือออนไลน์ หรือ e-book ด้วย แต่ไม่รวมถึงผู้ขายหรือร้านขายหนังสือออนไลน์ที่ไม่ใช่ผู้ผลิตเอง
ตาม พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 กำหนดให้ผู้ประกอบการสื่อสิ่งพิมพ์ต้องจดแจ้งการพิมพ์ ซึ่งหมายรวมถึง ผู้ประกอบธุรกิจหนังสือออนไลน์ หรือ e-book ด้วย แต่ไม่รวมถึงผู้ขายหรือร้านขายหนังสือออนไลน์ที่ไม่ใช่ผู้ผลิตเอง
9) กฎหมายผลิตภัณฑ์ อาหารและยา
การขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหารและยา ทั้งผลิตเอง หรือนำเข้า ต้องเป็นผลิตภัณฑ์อยู่ภายใต้การดูแลลจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
10) กฎหมายธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2551
ธุรกิจออนไลน์ที่ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ จะต้องดำเนินการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ต่อกรมการท่องเที่ยวเสียก่อน
ธุรกิจออนไลน์ที่ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ จะต้องดำเนินการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ต่อกรมการท่องเที่ยวเสียก่อน
ขอบคุณข้อมูลจาก MGRonline