บทความ

13 คุณสมบัติที่เว็บไซต์ E-Commerce ควรมี



1) User-Friendly
   การออกแบบเว็บไซต์ให้ง่ายต่อการใช้งาน เลือกสินค้าง่าย หาข้อมูลง่าย เพราะวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการออกแบบเว็บไซต์ E-commerce ก็คือ การอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าที่เข้ามาใช้งาน
2) Mobile - Friendly Website
   นอกจากอำนวยความสะดวกแล้ว เว็บไซต์ยังต้องรองรับการใช้งาน การชำระเงิน ผ่านทางการใช้งานมือถือ และ อุปกรณ์อื่น ๆ ด้วย
3) ภาพประกอบเว็บไซต์ต้องคมชัด 
    ภาพสินค้าที่ใช้ ไม่ใช่แค่ถ่ายแค่พอลง ยังต้องทำให้คมชัด และชัดเจน เพื่อดึงดูดความต้องการของลูกค้า เพราะลูกค้าส่วนใหญ๋ต้องการเห็นภาพสินค้าหลากหลายมุม และสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน รวมกถึงการซูมเข้าซูมออกจะให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันด้วย
4) โปรโมชั่น ข้อเสนอที่น่าสนใจ
    การจัดแคมเปญโปรโมชั่น หรือ กิจกรรมทางการตลาด ช่วยกระตุ้นให้เกิดการซื้อ ซึ่งสามารถสร้างยอดขายได้ไม่ยาก
5) ระบบสั่งซื้อ/ตะกร้าสินค้า
    เป็นระบบที่ขาดไม่ได้ ต้องเป็นฟีเจอร์ที่สามารถเลือกซื้อส้นค้าบนเว็บไซต์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
6) Search & Filter
    ฟีเจอร์ Search & Filter เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับเว็บไซต์ E-commerce เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าเว็บไซต์ของเรามีสินค้าอะไรบ้าง ฟีเจอร์นี้จะช่วยให้ลูกค้าตามหาสินค้าที่ต้องการได้
7) สินค้าที่เกี่ยวข้อง
    การแนะนำสินค้าที่มีความเกี่ยวข้อง หรือ ใกล้ เป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าที่เข้ามาช้อปในเว็บไซต์ หากคนที่เข้ามาไม่พบสินค้าที่ต้องการ หรือสินค้านั้นหมดสต๊อก ระบบแนะนำสินค้าที่เกี่ยวข้อง จะช่วยเพิ่มโอกาสสร้างยอดได้
8) Social Proof
    คือการใช้บุคคลมาบอกต่อกับลูกค้า เพื่อช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่ช่วยโน้มน้าวลูกค้าให้กล้าตัดสินใจซื้อ อธิบายให้เข้าใจได้ง่าย ๆ 
มี 5 ประเภท คือ
    1.การทำให้ผู้เชี่ยวชาญมายืนยัน
    2.การใช้ผู้ที่มีชื่อเสียง มาบอกเล่าสินค้า
    3.การให้ผู้ใช้งานจริงมาบอกต่อ
    4.การบอกปากต่อปาก จากคนใกล้เคียง
    5.การใช้สิ่งที่คนกำลังให้ความสนใจนำเสนอ
9) ความปลอดภัยของเว็บไซต์
  ความปลอดภัยเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด โดยส่วนใหญ่มักตกเป็นเป้าหมายของอาชญากรไซเบอร์ หน้าที่ของเราคือสร้างความปลอดภัยให้กับลูกค้า การใช้ SSL หรือเว็บไซต์เป็น HTTPS จะช่วยให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
10) ช่องทางการรับชำระเงิน
    เว็บไซต์ต้องมีช่องการชำระเงินที่หลากหลายให้แก่ลูกค้า รับได้ทั้งบัตรเดบิต และบัตรเครดิต เพราะเป็นส่วนหนึ่งการให้ความสะดวกแก่ลูกค้าที่มาใช้งาน
11) ข้อมูลการจัดส่งสินค้า
    เว็บไซต์ที่ดีต้องมีการบอกรายละเอียดของการจัดส่งสินค้า ผู้ให้บริการขนส่งเป็นใคร มีกี่ตัวเลือก และใช้เวลานานเท่าไหร่ ทำให้ลูกค้าตัดสินใจมากขึ้น
12) หน้าติดต่อเรา
    การสร้างหน้าเพจ Contact us หรือ ติดต่อเรา บอกรายละเอียดที่อยู่ และช่องทางการติดต่อของเราไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ลูกค้าอุ่นใจว่าสามารถติดต่อเราได้หากปัญหา
13) นโยบายการคืนสินค้า
    กรณีที่ลูกค้าไม่พอใจสินค้าที่ได้รับ และมาจากหลายสาเหตุ สินค้าอาจบกพร่อง เกิดการชำรุดและอื่นๆแน่นอนว่าสิ่งที่ลูกค้าต้องการคือการขอเปลี่ยน และขอคืนเงิน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก MakeWebWasy

การตลาดออนไลน์ (Online Marketing)

 ในยุคนี้ไม่ว่าใครก็ต้องเริ่มหันมาทำการตลาดออนไลน์กันทั้งนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันธุรกิจออนไลน์กำลังเจริญเติบโต สาเหตุก็เพราะต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน สังคมออนไลน์ หรือสังคมแห่งโลกโซเชียล ไม่ว่าจะเป็นเด็ก วัยรุ่น หรือผู้สูงอายุต่างพากันนิยมชมชอบกระแสเหล่านี้จนกลายเป็นอีกหนึ่งวัฒนธรรม ผู้คนเสพสื่อผ่านอินเตอร์เน็ตมากยิ่งขึ้น หากธุรกิจไม่ปรับตัวให้ทันตามเหตุการณ์บ้านเมืองก็อาจก่อให้เกิดความล้าสมัย และเป็นอันต้องพ่ายแพ้ให้กับธุรกิจคู่แข่งเพราะโดนแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดไปจนหมดสิ้น 


การตลาดออนไลน์ (Online Marketing) คือ การทำการตลาดผ่านการโฆษณาบนสื่อออนไลน์ เช่น Facebook Twitter, Instagram, YouTube , ตลอดจนการโฆษณาบนเว็บไซต์ หรือ Google ฯลฯ อีกมากมาย ผ่านการใช้งานบนอินเตอร์เน็ต 
ช่องทางในการทำ การตลาดออนไลน์ (Online Marketing) 
   1) Social Marketing คือ การตลาดออนไลน์ที่เน้นการเข้าถึงกลุ่มคนบนโลก Social Network ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter, Instagram, ฯลฯ อีกมากมาย โดยการตลาดบน Social Marketing มักจะได้รับความนิยมมากกว่าช่องทางอื่นๆ 
   2) Search Engine Marketing คือ การตลาดบน Search Engine เป็นการทำให้สินค้าติดหน้าแรกของ Google หรือที่เรารู้จักกันในนามของ SEO (Search Engine Optimization) เป็นการปรับแต่งเว็บไซต์ หรือปรับปรุงเนื้อหาที่มีคุณภาพ เพื่อให้เว็บไซต์หรือสินค้าติดหน้าแรกของ Google ทำให้ลูกค้ามีโอกาสในการคลิ๊กเข้าถึงสินค้าได้มากกว่า  
   3) Email Marketing คือ การตลาดโดยใช้ช่องทางของอีเมล เพื่อกระจายข่าวสาร หรือนำเสนอโปรโมชั่นต่างๆ ไปยังลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย เรียกได้ว่า Email Marketing เป็นช่องทางที่ใช้ต้นทุนการตลาดที่ถูกที่สุดเลยก็ว่าได้ เมื่อเปรียบเทียบกับการตลาดบนช่องทางอื่นๆ
   4) line Marketing คือ การตลาดผ่านแอพพลิเคชั่น อย่างเช่น Line ด้วยการเผยแพร่ข่าวสาร อัพเดทโปรโมชั่น ต่างๆ เรียกได้ว่าเป็นแอพพลิเคชั่นที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ด้วยการเก็บรวมข้อมูลพบว่าในประเทศไทยของเรามีผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่น Line มากกว่า 83 % เลยทีเดียว
   5) Banner การทำโฆษณาโดยใช้ Banner ของเว็บไซต์ต่างๆ ก็เป็นอีกหนึ่งกระแสที่ค่อนข้างจะได้รับความสำคัญ เพราะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างตรงกลุ่มเป้าหมาย ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจอาหารที่นำโฆษณาไปฝากไว้ตามเว็บไซต์อาหาร หรือเว็บไซต์แหล่งรวบรวมร้านอาหาร รีวิวร้านอาหาร ในขณะที่ธุรกิจโรงแรมได้นำโปสเตอร์โฆษณาไปฝากไว้ตามเว็บท่องเที่ยว 
ประโยชน์ของการตลาดออนไลน์

การตลาดออนไลน์มีความสำคัญอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการตลาดที่ทำผ่านข้อความ ตัวอักษร รูปภาพ หรือวิดีโอ ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน นอกจากจะช่วยให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างกว้างขวางแล้ว ยังเป็นการประหยัดต้นทุนอีกด้วย โดยประโยชน์ของการตลาดออนไลน์ มีดังต่อไปนี้ 

1) เข้าถึงลูกค้าจำนวนมาก

ในโลกออนไลน์เป็นโลกแห่งการสื่อสารที่ไร้พรมแดน ดังนั้น การทำการตลาดออนไลน์จะช่วยให้สามารถเข้าถึงกลุ่มคนได้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถเข้าถึงลูกค้าได้เฉพาะกลุ่มที่ต้องการ หรือเป็นลูกค้าในกลุ่มเป้าหมาย เพื่อการกระจายสินค้าให้ตรงจุด หรือตรงต่อความต้องการของผู้บริโภค 

2) สร้างภาพลักษณ์ที่ดี 

เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ธุรกิจ และช่วยให้สินค้าเป็นที่จดจำได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นแล้วยังสามารถใช้ช่องทางออนไลน์ในการสร้างทีมขาย หรือระบบตัวแทนจำหน่าย เพื่อกระจายสินค้าให้ผู้คนรู้จักแบรนด์มากยิ่งขึ้นอีกด้วย 

3) ใช้ต้นทุนต่ำ 

การตลาดออนไลน์นอกจากจะทำให้ผู้คนรู้จักสินค้า หรือซื้อบริการได้เพิ่มมากขึ้นแล้ว เรียกได้ว่าเป็นช่องทางที่ใช้ต้นทุนต่ำมากๆ อีกด้วย ในทางตรงกันข้ามก็สามารถสร้างกำไรได้อย่างมหาศาลเลยทีเดียว และเป็นผลดีมากๆ สำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่มีเงินทุนสูงมากนัก 

4) ทำการตลาดได้ 24 ชม.

อีกหนึ่งข้อดีของการทำการตลาดออนไลน์ก็คือ สามารถทำการตลาดได้ตลอด 24 ชม. ไม่มีวันหยุด เพราะบนโลกออนไลน์ไม่มีการหลับใหล ทุกคนสามารถเข้าใช้งานได้ตลอดเวลา ช่วยอำนวยความสะดวกให้การซื้อขายสามารถทำได้ตลอด 24 ชม.

5) วัดผลได้โดยง่าย 

การตลาดออนไลน์สามารถวัดผลได้โดยง่ายด้วยเครื่องมือที่ถูกคิดค้นหรือพัฒนาขึ้นมารองรับบริการด้านนี้โดยเฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น การโฆษณาบน Google Ads ที่มีระบบ Analytics สามารถโชว์ผลลัพธ์จากการทำโฆษณาทุกรูปแบบบน Google Ads ทำให้ไม่ต้องเสียเวลามานั่งวิเคราะห์ หรือพล็อตกราฟเองให้ยุ่งยาก เป็นต้น 

6) สร้างความสัมพันธ์ที่ดี

การตลาดออนไลน์เป็นการทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ไม่ว่าจะเป็นบริการให้คำปรึกษาหลังการขาย หรือบริการสอบถามปัญหาการใช้งานในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยี AI ที่เข้ามามีบทความเพิ่มมากขึ้น โดยระบบ Chabot ที่ทำหน้าพูดคุยกับลูกค้า หรือสามารถรับมือกับลูกค้าจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Mandala

กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี

ปัจจุบัน กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นกิจการที่การเจริญเติบโตมาก แต่ผู้ประกอบการบางส่วนยังไม่มีความเข้าใจเรื่องภาษีอากร ดังนั้นกรมสรรพากรจึงรวบรวมประเภท "ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่" ที่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี แสดงให้ผู้ประกอบการทราบเพื่อจักได้ดำเนินการอย่างถูกต้องต่อไป



เว็บไซต์แสดงรูปและราคาสินค้า

Catalog Website หมายถึง เว็บไซต์ที่ผู้ ประกอบการจัดทำขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่เป็นห้องแสดงสินค้า รายการราคาสินค้า ประชาสัมพันธ์รายการสินค้า โปรโมชั่น ณ ช่วงเวลานั้น ทั้งนี้อาจเน้นไปทาง โฆษณาสินค้าตัวใหม่ๆ แต่ไม่ได้มีการซื้อขาย สินค้าออนไลน์แต่อย่างใด หากผู้ซื้อสินค ้าสนใจจะซื้อสินค้า จะต้องโทรศัพท์ เพื่อสั่งสินค้า ส่วนการชำร ะราคาค่าสินค้า จะเกิดขึ้นทันที ที่รับมอบสินค้า จากพนักงานส่งสินค้า ข้อสังเกต เว็บไซต์ประเภทนี้ จะไม่มีระบบ ไม่มีตะกร้าในการซื้อขาย แต่จะมีเพียงรูปภาพ หรือรายการสินค้า พร้อมราคาเท่านั้น


เว็บไซต์เพื่อการขายสินค้า
e-Shopping หมายถึง เว็บไซต์ที่ผู้ประกอบ การสร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของกิจการ ส่วนใหญ่จะใช้ชื่อกิจการ เป็นชื่อเว็บไซต์โดยไม่มีคำอื่นต่อท้าย กิจการจะสร้างกิจกรรม บนเว็บไซต์แบบ เต็มรูปแบบ โดยจะมีกิจกรรมต่างๆ มีการเคลื่อนไหว ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเว็บไซต์ ให้ทันสมัยตลอดเวลา มีผู้เข้าชมเป็นจำนวนมาก ในส่วนของการขายสินค้า จะมีระบบการรับชำระ ค่าสินค้า มีตะกร้าให้เลือกสินค้า มีระบบการตรวจสอบ การส่งของ มีระบบต่างๆ อีกมากมาย เพื่ออำนวยความสะดวก ให้ลูกค้า

การขายสินค้าบนชุมชนเว็บบอร์ด
Community Web หมายถึง ชุมชนเว็บบอร์ดซึ่งเป็นที่รวมตัวของคนที่มีความสนใจคล้ายๆ กัน โดยทางเว็บไซต์ ได้จัดทำเว็บบอร์ดแล้วอนุญาตให้ สมาชิกนำสินค้าต่างๆมาโพสต์ขายได้ด้วย ซึ่งปัจจุบัน จะมีเว็บไซต์แบบนี้ อยู่เป็นจำนวนมาก เช่น เว็บสำหรับคนชอบมือถือ กล้องถ่ายรูป อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งการทำเว็บไซต์ ให้มีสินค้า ตรงกับความต้องการ ของกลุ่มเป้าหมาย จะช่วยให้ การขายสินค้าได้ง่าย และรวดเร็วขึ้น
การขายสินค้าบนเว็บบอร์ดของ Community Web เป็นการซื้อขายที่ผู้ซื้อ ส่วนใหญ่จะติดต่อกันทางโทรศัพท์หรือ e-mail ที่ให้ไว้บนเว็บบอร์ด แล้วคุยกันนอกรอบเพื่อตกลงเรื่องราคา ซึ่งมักจะใช้การชำระ ราคาค่าสินค้า ด้วยวิธีการโอนเงิน ผ่านบัญชีธนาคาร และรับสินค้าทางไปรษณีย์

เว็บไซต์เพื่อการประมูลสินค้า

e-Auction (electronic auction) หรือที่เรียกว่า online auction, e-bidding, online bidding หรือ การประมูลออนไลน์ คือการประมูลสินค้า และบริการผ่านอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขาย เห็นความเคลื่อนไหว ของราคาขณะประมูล ในแบบเรียลไทม์ (real time) โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องของเวลา และสถานที่เข้ามาเกี่ยวข้อง



เว็บไซต์ห้างสรรพสินค้าออนไลน์

e-Market Place หรือ Shopping Mall หมายถึง ห้างสรรพสินค้าออนไลน์ ทำหน้าที่เหมือนห้างสรรพสินค้าปกติโดยทั่วไป คือ แบ่งเนื้อที่ในเว็บไซต์ ออกเป็นขนาดเล็กๆ อาจจะจัดเป็น หมวดหมู่ โซนต่างๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการ ที่สนใจมาเช่าหน้าร้าน เพื่อประกอบธุรกิจโดย e-Market Place จะมีระบบจัดการเว็บไซต์ร้านค้า ไว้บริการผู้ประกอบการ เช่น ระบบตะกร้าสั่งซื้อสินค้า ระบบรับชำระเงิน ระบบการตรวจเช็คสต็อก ระบบช่วยร้านค้า ประชาสัมพันธ์สินค้า ระบบเว็บบอร์ด เป็นต้น


เว็บไซต์แหล่งซื้อขายภาพดิจิทัล

Stock Photo หมายถึง ที่เก็บรวบรวมภาพถ่ายไว้ด้วยกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขายภาพถ่ายนั้น การขายภาพถ่าย เป็นเพียงคุณยินยอม หรืออนุญาตให้ผู้ซื้อ ใช้ภาพถ่าย ของคุณเท่านั้น โดยคุณไม่ได้ขายขาดสิทธิ์ในภาพถ่ายดังกล่าว ดังนั้น ภาพถ่ายยังคงเป็นลิขสิทธิ์ของคุณ อยู่อย่างสมบูรณ์เช่นเดิม ซึ่งทำให้คุณสามารถ นำภาพถ่ายเดียวกันนี้ ไปขายซ้ำแล้วซ้ำอีกจะกี่เว็บไซต์ก็ได้ ส่วนภาพถ่ายที่ซื้อมานั้น ผู้ซื้อสามารถ นำไปใช้ในการพิมพ์หนังสือ การพิมพ์เอกสารในโอกาสพิเศษ นิตยสาร บริษัทโฆษณา การสร้างภาพยนตร์ นักออกแบบเว็บไซต์ ศิลปินด้านภาพ บริษัทรับตกแต่งภายใน และด้านอื่นๆ ตามต้องการ ปัจจุบัน Stock Photo ไม่ได้รับเฉพาะภาพถ่ายเท่านั้น ยังรับภาพ จากนักออกแบบผู้สร้างสรรค์ภาพ จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรม Illustrator, Photoshop อีกด้วย


การรับโฆษณาจากเว็บไซต์กูเกิ้ล

Google AdSense หมายถึง โปรแกรมการโฆษณาสินค้าที่ทาง Google เปิดโอกาสให้กับ ผู้ที่มีเว็บไซต์สามารถ สร้างรายได้ด้วยการ นำโฆษณาของ Google มาใส่ไว้ที่เว็บไซต์ โดยรายได้ จะเกิดจากการมีผู้อื่นมาเยี่ยมชม และการคลิกโฆษณานั้น ซึ่งโฆษณาต่างๆ ของ Google จะเป็นโฆษณาที่มีเนื้อหาสอดคล้อง กับเนื้อหาของเว็บไซต์ กรณีที่เว็บไซต์เกี่ยวข้องกับเกมส์ โฆษณาที่ทาง Google จะส่งมาก็จะเป็นเกี่ยวกับเกมส์ เช่นกัน


การทำให้ผลการค้นหาบนกูเกิ้ลติดลำดับแรกๆ

SEO หรือ Search Engine Optimization หมายถึง การทำให้ผลการค้นหาจาก Google แสดงข้อมูลเว็บไซต์ ติดอันดับต้นๆ ของผลการค้นหาปกติ (Natuaral Search) นักคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ด้วยการ ปรับเว็บไซต์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ การให้คะแนนของ Google หรือที่เรียกว่า PageRank เช่น เว็บไซต์ที่เปิดมาเป็นระยะเวลานาน ผู้เข้าเยี่ยมชม เว็บไซต์จำนวนมาก บทความบนเว็บไซต์มีการปรับปรุง ให้ทันสมัยอยู่เสมอ ไม่มีข้อความที่คัดลอกจาก เว็บไซต์อื่น เป็นต้น โดยเว็บไซต์ที่มี PageRank สูงก็จะได้อยู่ในอันดับต้นๆ ของผลการค้นหาปกติ ผู้ประกอบการที่ต้องการ ให้ผลการค้นหาของ Search engine ปรากฏบนหน้าแรก ของการค้นหา ซึ่งจะไม่เกี่ยวข้องกับ Google Adwords / Google Adsense การโฆษณาแบบนี้ ผู้ประกอบการต้องว่าจ้าง นักคอมพิวเตอร์ที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน เป็นผู้ดำเนินการ


เว็บไซต์นายหน้าการขายสินค้าและบริการ

Affiliate Marketing หมายถึง ธุรกิจที่ใช้ระบบการขาย และชำระเงินของผู้ขาย โดยผู้ประกอบการจะชักชวนให้ซื้อสินค้าด้วยการโฆษณาข้อมูลสินค้าผ่านเว็บไซต์ของตนเองแล้วผู้ซื้อทำการคลิกผ่าน Banner หรือ Link ID เพื่อเข้าไปซื้อสินค้า/บริการ จากเว็บไซต์นั้นๆ จึงและจะได้รับผลตอบแทนค่าธรรมเนียมภายหลังการขายประสบผลสำเร็จ


เว็บไซต์เล่นเกมผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์

Game Online หมายถึง การเล่นเกมผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์ โดยผู้เล่นเกมออนไลน์จะต้องติดตั้งโปรแกรมClient เพื่อเชื่อมโยง กับบริษัทผู้ให้บริการเกมออนไลน์ซึ่งทำหน้าที่เป็น Server ทั้งนี้ข้อมูลต่างๆ ของผู้เล่นเกมออนไลน์จะถูกเก็บไว้ในเครื่อง Server ซึ่งทำให้ผู้เล่นเกมออนไลน์สามารถแข่งขัน และสนทนา (Chart) กับผู้เล่นรายอื่นที่อยู่ในเกมออนไลน์ได้ทันที ทั้งนี้ผู้เล่นเกมออนไลน์ จะต้องเสียค่าบริการ สำหรับการเล่นเกมออนไลน์ตามอัตราและเงื่อนไขที่บริษัทผู้ให้บริการกำหนดไว้        


ประเภทของเกมออนไลน์ มี 2ประเภท ดังนี้
     1. Massively Multiplayer Online Role-Playing Game (MMORPG) คือ เกมออนไลน์ที่สามารถรองรับ ผู้เล่นเกมได้พร้อมกัน เป็นจำนวนมาก โดยผู้เล่นทุกคนสามารถ มีปฏิสัมพันธ์กันในโลกของเกมได้พร้อมกัน (Real Time Interaction) ซึ่งเปิดโอกาส ให้ผู้เล่นสามารถแข่งขัน หรือผูกมิตรกันได้เสมือนอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง โดยเนื้อหาของเกมส่วนใหญ่ จะเกี่ยวกับการต่อสู้ผจญภัย เพื่อป้องกันตัวหรือในภาวะสงคราม โดยมีลักษณะทั่วไปดังนี้
    2. Casual Game คือ เกมออนไลน์ที่มีตัวการ์ตูนน่ารักสีสันสดใส มักเป็นเกมเล่นง่าย ที่ผู้เล่นเกมไม่ต้องใช้เวลา หรือทักษะในการเล่นมากนัก และสามารถเล่นจบในเวลาอันสั้น ซึ่งเหมาะสำหรับการเล่นเพื่อผ่อนคลาย

การคิดบริการเกมออนไลน์ มีอยู่ทั้งหมด 2 แบบคือ Air time และ Item Selling
    1. Air Time เป็นการซื้อบัตรเติมเวลาเพื่อเล่นเกมออนไลน์ เปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดๆ ก็เหมือนๆ กับบัตรเติมเงินโทรศัพท์มือถือ โดยหากเราไม่ได้เสียค่า Air Time ก็จะ ไม่สามารถเข้าเล่นเกมออนไลน์ได้ รูปแบบของบัตรเติม Airtime ก็จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ เติมเป็นเป็นชั่วโมง และเติมเป็นวัน ส่วนใหญ่การเก็บค่าบริการแบบนี้จะเจอในเกมออนไลน์ประเภท MMORPG ตัวอย่างเช่น Ragnarok, LineageII, Mu Online เป็นต้น
     2. Item Selling การเก็บค่าบริการแบบนี้ผู้เล่นสามารถเข้าเล่นเกมได้ฟรี แต่หากต้องการซื้อ item บางอย่างมาใช้ในเกม จะต้องทำการเติมแต้มด้วยเงินจริง เพื่อนำแต้มเหล่านั้นไปใช้ซื้อ item ต่างๆ ส่วนใหญ่การเก็บค่าบริการแบบนี้จะเห็นในเกมออนไลน์ประเภท Casual Game เช่น Pangya, O2Jam, Last Chaos เป็นต้น

ประเภทของบัตรเติมเงิน
               บัตรเติมเงินมี 3 ประเภท คือ
               1. บัตรเติมเงินที่ออกโดยบริษัทผู้นำเข้า
               2. เกมออนไลน์ใช้ได้เฉพาะเกมออนไลน์ที่บริษัทผู้ออกบัตรเป็นผู้ให้บริการเท่านั้น
               3. บัตรเติมเงินทั่วไปใช้ในการซื้อสินค้า/บริการ ทางอินเทอร์เน็ตได้ทั่วไปในประเทศไทย เช่น บัตรเติมเงิน True Money, mPay เป็นต้น


ขอขอบคุณข้อมูลจาก กรมสรรพากร

ภาษีพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

    ผู้ประกอบการ e-Commerce ที่ขายสินค้าหรือบริการผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ มีสิทธิและหน้าที่ในการเสียภาษีเช่นเดียวกับผู้ประกอบการอื่น ๆ ผู้ประกอบการที่อยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย มีรายได้จากการขายสินค้า หรือ ให้บริการแก่ผู้ซื้อที่อยู่ ณ ที่ใด ๆ ก็ตาม มีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ประกอบการค้าขายที่มีหน้าร้านทั่วไป ต้องนำรายได้นั้นมารวมคำนวณยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ และมีหน้าที่จดทะเบียนเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามเงื่อนไขของกฎหมาย


    ได้แก่ บุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล ต้องนำเงินได้จาก e-Commerce ไปรวมคำนวณกับเงินได้จากแหล่งอื่นถ้ามี เช่น เงินเดือนดอกเบี้ย โดยยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.94 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายนของปี และยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ภายในเดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคมของปีถัดไป

บุคคลธรรมดา
    จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามการคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ และเงินได้พึงประเมิน ตามวิธีการดังต่อไปนี้
  • วิธีคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ (รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน)
  • 1) รายได้ : ถือเป็นเงินได้จากการขายสินค้าและบริการ (เงินได้ประเภทที่ 8)
  • 2) ค่าใช้จ่าย : สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ในอัตราเหมาและหักตามค่าใช้จ่ายจริง โดยขึ้นอยู่กับอัตราค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนดของธุรกิจแต่ละประเภท
  • 3) ค่าลดหย่อน : สามารถใช้สิทธิหักค่าลดหย่อนตามกฎหมายได้ เช่น  บุตร ประกันชีวิต LTF RMF ฯลฯ
  • 4) คำนวณภาษี : ด้วยอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบก้าวหน้า
  • วิธีคำนวณภาษีจากเงินได้พึงประเมิน
  • ในกรณีเราที่มีเงินได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินเดือนจำนวนมากกว่า 60,000 บาท ให้นำยอดเงินได้คูณด้วย 0.005 และถ้าภาษีที่คำนวณได้ตามวีธีนี้ มีจำนวนไม่เกิน 5,000 บาท ได้รับยกเว้นภาษี แต่ถ้าคำนวณได้ภาษีเกินกว่า 5,000 บาท ให้เปรียบเทียบต่อครับว่า ภาษีที่คำนวณได้จากทั้งสองวิธีนั้น วิธีไหนได้จำนวนภาษีสูงกว่า ให้เลือกเสียตามวิธีนั้น



กรณีเงินได้ทุกประเภทไม่รวมเงินได้ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร 
มีจำนวนรวมตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป ให้นำยอดเงินได้ คูณด้วย 0.005
คำนวณภาษีจาก 2 วิธี แล้วให้ชำระจากยอดที่มากกว่า
 * เว้นแต่คำนวณภาษวีธีที่ 2 แล้วมีภาษีไม่เกิน 5,000 บาท ให้ชำระตามวิธีที่ 1

    ผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือนิติบุคคลต่างประเทศเข้ามาทำกิจการในประเทศเสียภาษีจากำไรสุทธิ ตามเงื่อนไข ที่ระบุในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรีแห่งประมวลรัษฎากร หากกิจการขาดทุนสุทธิไม่ต้องเสียภาษี โดยยื่นแบบแสดงรายการ
1. แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี (ภ.ง.ด.51) ภายใน 2 เดือน
นับจากวันสุดท้ายของทุก 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี
2. แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ (ภ.ง.ด.50) ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี


รายละเอียดตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 530) พ.ศ. 2554 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 603) พ.ศ. 2559 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป 

1) กิจการ SMEs มีทุนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท รายได้จากการขายหรือให้บริการไม่เกิน 30 ล้านบาท ไม่ได้จดแจ้งการจัดทำบัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ
2) กิจการ SMEs มีทุนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท รายได้จากการขายหรือให้บริการไม่เกิน 30 ล้านบาท ได้จดแจ้งการจัดทำบัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ


รายละเอียดตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 595) พ.ศ. 2558 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 1 มกราคม 2560 - 31 ธันวาคม 2560 เสียภาษีจากกำไรสุทธิ

3) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กรณีทั่วไป ที่ไม่ใช่กิจการ SMEs


รายละเอียดตาม พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 42 เสียภาษีจากกำไรสุทธิ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 1 มกราคม 2559 เป็นต้นไป

    ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพในประเทศไทย หรือผู้นำเข้าสินค้า โดยผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่มีรายรับเกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าผู้ประกอบการจะมีรายรับหรือไม่ก็ตาม



ขอบคุณข้อมูลจาก กรมสรรพากร

ความแตกต่างระหว่างการค้าแบบธุรกิจทั่วไปกับการค้าแบบ E-Commerce


ข้อดีของการทำธุรกิจแบบ E-Commerce คือ ช่วยลดต้นทุนในธุรกิจ เนื่องจากการทำธุรกิจโดยทั่วไปแล้วต้องมีสิ่งที่เรียกว่า “หน้าร้าน” คือ ที่ตั้งร้านในการซื้อขายสินค้า โชว์สินค้า หรือให้บริการ รวมไปถึง “แรงงาน” คือพนักงานขาย พนักงานต้อนรับ และคนคอยดูแลร้าน เช็คสต็อก เป็นต้น การทำธุรกิจผ่านทางออนไลน์จะช่วยลดต้นทุนด้านนี้ลงไป เพราะสามารถโชว์รูปหรือวิดีโอของสินค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และซื้อขายกันได้เลย ช่วยให้สามารถทำธุรกิจในเวลาไหนก็ได้ และไม่ต้องกังวลเรื่องระยะทางอีกต่อไป

ความแตกต่างระหว่างการค้าแบบธุรกิจทั่วไปกับการค้าแบบ E-commerce
    
    1) ไม่ต้องลงทุนหน้าร้าน แต่จะเสียเงินไปกับค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยี ขณะที่ธุรกิจทั่วไปมีการลงทุนหน้าร้าน แต่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยี
    2) เข้าถึงลูกค้าได้ทั่วทุกมุมโลก และซื้อขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง เนื่องจากมีระบบอัตโนมัติคอยช่วยเหลือ ขณะที่ธุรกิจทั่วไปต้องมีหน้าร้านเป็นหลักเป็นแหล่ง ทำให้ขายลูกค้าได้ไม่กี่กลุ่ม และการเปิดขายตลอด 24 ชั่วโมงต้องใช้ต้นทุนแรงงานมาก    
    3) สามารถทำงานได้แบบ Real Time ขณะที่ธุรกิจทั่วไปอาจมีประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสารที่ช้ากว่า เช่น สินค้าหมดแต่ไม่สามารถแจ้งลูกค้าได้ เนื่องจากข้อมูลสต็อกสินค้าไม่อัพเดต เมื่อลูกค้ามาที่ร้านก็ทำให้เสียเวลาเดินทาง และอาจเสียลูกค้าไปด้วยเพราะทำให้เกิดความไม่พอใจ ขณะที่ธุรกิจ E-Commerce ลูกค้าสามารถเช็คได้ทันทีว่ามีสินค้าหรือไม่ ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากกว่า
    4) มีมาตรฐานในการบันทึกข้อมูลผ่านเว็บไซต์ และธุรกิจที่เป็น E-Commerce เหมือนกันมักมีมาตรฐานแบบเดียวกัน ขณะที่ธุรกิจทั่วไปอาจมีมาตรฐานแตกต่างกันไป
    5) มีโอกาสทางธุรกิจสูงกว่าธุรกิจทั่วไป เพราะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากกว่า ขณะที่ธุรกิจทั่วไปอาจเข้าถึงลูกค้าเฉพาะกลุ่ม หรือลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ
    6) กระจายสินค้าและบริการใหม่ๆ ได้รวดเร็วกว่าธุรกิจทั่วไป เนื่องจากธุรกิจทั่วไปจะใช้วิธีส่งสินค้าหรือบริการไปตามร้านหรือสาขาต่างๆ ซึ่งจะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ช้ากว่า และลูกค้าอาจไม่ทราบข่าวหากไม่ได้มีการติดตามที่ร้านหรือสาขา
    7) ความน่าเชื่อถือทางธุรกิจจะน้อยกว่าธุรกิจทั่วไป หาก E-Commerce นั้นๆ ไม่ใช่แบรนด์ที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว เพราะลูกค้าไม่สามารถเห็นสินค้าจริง ไม่สามารถทดลองสินค้าได้และไม่มีหน้าร้านหรือมีที่ตั้งของธุรกิจแน่นอน อาจเกิดการโกงเงินลูกค้าได้โดยง่าย หรือถ้าสินค้าไม่ได้คุณภาพก็ไม่สามารถขอคืนเงินได้ ลูกค้าจึงอาจยังไม่กล้าสั่งซื้อ


    จะเห็นได้ว่าทั้ง E-Commerce และธุรกิจทั่วไปก็มีข้อโดดเด่นแตกต่างกันไป แต่ E-Commerce นั้นเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นธุรกิจมากกว่า เพราะถึงต้องใช้ต้นทุนทางเทคโนโลยี แต่ก็มีแพลตฟอร์มออนไลน์หลายแห่งที่สามารถใช้บริการโดยเสียเงินหรือเสียแต่น้อยมาก ทำให้สามารถเริ่มต้นโปรโมตร้านให้คนทั่วไปรู้จักได้เร็วกว่าการทำธุรกิจทั่วไป อย่างไรก็ตามถ้าทำธุรกิจออนไลน์ควบคู่กับการทำธุรกิจทั่วไป คือ มีหน้าร้าน ก็จะทำให้ลูกค้ามีความเชื่อถือในธุรกิจมากกว่า เพราะสามารถเห็นสินค้าจริงได้นั่นเอง


ขอบคุณข้อมูลจาก Finance-Rumour , e-com

แนวทางการเริ่มต้นธุรกิจ

 

1. ถามตัวเองก่อนว่ามี ความใคร่” (Passion) ในเรื่องอะไร

2. ลงมือเขียนเกี่ยวกับตัวเองว่ามีความถนัดด้านอะไรบ้าง

3. ตัดสินใจว่าจะทำธุรกิจแบบ B2B” หรือ B2C”

    3.1 B2B (Business-to-Business) เป็นธุรกิจที่กลุ่มลูกค้าคือตัวบริษัท องค์กร เป็นหลัก ซึ่งมุ่งเน้นการขายสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์อีกธุรกิจหนึ่ง ทำให้อีกธุรกิจได้ประโยชน์ที่ดีขึ้น

    3.2 B2C (Business-to-Customer) เป็นธุรกิจที่กลุ่มลูกค้าคือคนทั่วไป เน้นการขายแบบแมส (Mass Market) ซึ่งสินค้าและบริการจะขายให้กับรายบุคคล พูดง่ายๆ ก็คือกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค ซื้อกินซื้อใช้ อาหาร เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ธุรกิจออนไลน์ ธุรกิจขายรถ ขายบ้าน ขายที่ดิน ฯลฯ

4. ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนว่าจะทำธุรกิจไปเพื่ออะไร

5. เขียนแผนธุรกิจโดยเน้นถึงยอดขาย กำไร จำนวนลูกค้า ต้นทุนการผลิต ต้นทุนการตลาด เป็นหลัก

6. ประเมินความเสี่ยงทางธุรกิจให้รอบคอบ

7.  ควบคุมต้นทุนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

8. โฟกัสด้านการขายเป็นหลัก



ขอบคุณข้อมูลจาก Sales100


ข้อดี-ข้อเสียของ E-Commerce 


ข้อดีของ E-Commerce 

    ด้วยความสะดวกสบายของอินเทอร์เน็ตที่ถูกพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการด้านการสื่อสาร ส่งผลไปยังการพัฒนาการทำธุรกิจ ที่ทำให้ผู้คนทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนความต้องการบางอย่างได้อย่างอิสระมากขึ้น โดยมีข้อดีหลัก ๆ ดังนี้

    1) สื่อสารกับผู้บริโถคได้ง่ายด้วยอินเตอร์เน็ต

    ด้วยระบบอินเทอร์เน็ตทำให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคสามารถแลกเปลี่ยนสิ่งที่ต้องการกันได้อย่างอิสระ การ ‘โฆษณา’ จึงกลายเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายมากขึ้น

    2) ทำได้ด้วยตัวเอง ลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร

    เนื่องจากแพลตฟอร์มหรือเครื่องมือต่างๆ สามารถตอบโจทย์การทำงานค้าขายได้ทุกรูปแบบ เพียงแค่วิธีการทำงานจะต่างจากเดิม ทำให้ผู้ประกอบการสามารถควบคุมธุรกิจของตัวเองได้ด้วยตัวคนเดียว

    3) มี Tool ที่ใช้สำรวจความต้องการของผู้บริโภค

    ด้วยเครื่องมือต่างๆ ทำให้เราเข้าถึงความต้องการของผู้บริโภคเบื้องต้นได้ง่ายๆ ไม่ต้องออกไปทำการสำรวจด้วยตัวเอง แต่ก็ต้องอาศัยการคาดเดาพฤติกรรมผู้บริโภคจากผู้ประกอบการอยู่ดี

    4) ไม่ต้องสต๊อคสินค้าก่อน

    เราไม่จำเป็นจะต้องซื้อสินค้ามาเก็บแล้วรอขายเพื่อเอากำไรอีกต่อไป การทำธุรกิจแบบ E-Commerce จะเป็นลักษณะที่ เมื่อมีลูกค้าสั่งสินค้าเราถึงจะดำเนินการสั่งสินค้าและส่ง 

    5) เลือกกลุ่มเป้าหมายที่จะทำการโฆษณาได้

    เราไม่จำเป็นจะต้องไปเสียเงินทำโฆษณาแพงๆ เพื่อให้คนเห็นเยอะๆ อีกต่อไป แทนที่เราจะทำแบบนั้นเราเลือกกลุ่มคนที่มีแนวโน้มจะสนใจสินค้าหรือการบริการของเราดีกว่า 

    6) เปิดขายได้จลอด 24 ชั่วโมง

    ตัดปัญหาเรื่องการเปิดปิดร้านไปซะ เพราะระบบออนไลน์ไม่มีวันหลับ ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าหรือบริการของเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง 

    7) เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทั่วโลก

     ช่องทางนี้มันสามารถเข้าถึงผู้คนได้ทั่วโลกด้วยระบบอินเทอร์เน็ต เพราะฉะนั้นเราก็สามารถขายของได้ทั่วโลกโดยไม่มีข้อจำกัด แต่ก็ขึ้นอยู่กับความรู้เรื่องพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายของผู้ประกอบการด้วย

ข้อเสียของ E-Commerce 

    ทุกอย่างมีสองด้านเสมอ เมื่อมีข้อดีมากข้อเสียก็ต้องมีมากให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคคอยระวังตัวกันด้วย เนื่องจากความสะดวกสบายทำให้เกิดช่องว่างที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อการติดต่อสื่อสารได้ ดังนี้
    1) ผู้บริโภคไม่สามารถสัมผัสสินค้าจริงได้
    ข้อเสียที่ชัดเจนที่สุดของ E-Commerce ก็คือผู้บริโภคไม่สามารถสัมผัสกับสินค้าได้ จนอาจทำให้เกิดความผิดพลาดเรื่องขนาดของสินค้า เหตุที่เกิดบ่อยมากที่สุดก็คือสินค้าเครื่องแต่งกาย
    2) มีการแข่งขันสูงมาก
    เป็นปกติอยู่ ช่องทางที่สะดวกสบายขนาดนี้ แถมไม่มีค่าใช้จ่ายในการสร้างพื้นที่อีก ไม่ว่าใครต่างก็ทำได้ทั้งนั้น จึงทำให้เกิดการแข่งขันที่สูงมากในวงการ E-Commerce และก็คือหน้าที่ของผู้ประกอบการแล้วว่าจะสร้างความโดดเด่นให้กับร้านค้าและสินค้าอย่างไรให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
    3) ยากต่อการค้นหา เพราะคู่แข่งเยอะ
    และเมื่อคู่แข่งเยอะ แสดงว่าต้องมีผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจสายเดียวกับเราเยอะเช่นกัน หากเราไม่สามารถตั้งชื่อหรือทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักได้มากพอ ก็จะยากต่อการค้นหา เพราะคู่แข่งในตลาดเยอะ
    4) การส่งสินค้าต้องใช้เวลา สร้างความกังวลให้ผู้บริโภค
    ในการส่งสินค้าเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลา ซึ่งจะสร้างความกังวลให้ผู้บริโภคทั้งในแง่ของการถูกหลอกให้จ่ายเงินก่อน และความเสียหายของสินค้าเวลาขนส่ง ผู้ประกอบการคงต้องมีวิธีการเลือกบริการขนส่งที่ไว้ใจได้หน่อย
    5) เสี่ยงต่อการถูกคุกคาม ด้วยผู้ไม่หวังดีทางอินเตอร์เน็ต
    ด้วยความที่โลกออนไลน์มีความอิสระในการแสดงความคิดเห็นอย่างมาก ทำให้ธุรกิจของเราอาจจะถูกคุกคามจากผู้ไม่หวังดีก็ได้ จนถึงขนาดที่อาจทำให้โดนแทรกแซงได้
    6) เข้าถึงได้เฉพาะผู้บริโภคที่ใช้อินเตอร์
    ถึงแม้อินเทอร์เน็ตจะเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั่วโลก แต่ก็มีกลุ่มคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่สะดวกในช่องทางนี้ นี่จึงเป็นอีกข้อเสียที่การทำธุรกิจแบบ E-Commerce ไม่อาจตอบสนองต่อทุกคนได้ 100%


ขอบคุณข้อมูลจาก Adaddicitth

การใช้งาน LnwShop

การใช้งาน LnwShop


วิธีเพิ่มสินค้า
1.คลิกไปที่หลังร้าน


2.นำเมาท์ไปวางไว้ที่สินค้า  จกานั้นเลือก เพิ่มสินค้า ตามรูปด้านล่าง




3.เลือกตัวเลือกสินค้า ถ้าตัวเลือกสินค้ามีมากกว่า1รายการ(มีตัวเลือกแบบ) ดังรูปภาพ
4.ใส่ชื่อสินค้า


5.ใส่ราคาสินค้า
6.ใส่ภาพสินค้าที่ต้องการขาย


7.ใส่รายละเอียดสินค้า


8.เลือกหมวดหมู่
9.กดบันทึก